การเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

การที่คนเราจะสามารถสร้างแนวทางแฟชั่นของเราเองขึ้นมา โดยการคิดผสมผสานให้เหมาะสมกับตัวเองนั้นน่าจะทำให้เรากลายเป็นผู้นำแฟชั่นแนวใหม่ ซึ่งจะน่าชื่นชมกว่าการลอกเลียนแบบ แฟชั่นชั้นสูงเป็นงานศิลปะที่มีความเป็นตัวเองสูง การเปลี่ยนแปลงของแฟชั่นชั้นสูงจะเป็นอิสระจากสภาวะโดยรอบ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจหรือสังคม เนื่องจากเป็นเรื่องของคนชั้นสูงซึ่งมีฐานะดีที่จะไม่ได้รับผลกระทบ แฟชั่นชั้นสูงจึงอาจไม่สะท้อนความเป็นจริงของโลกมากนัก แต่สำหรับแฟชั่นระดับกลางหรือระดับล่าง ผู้บริโภคเป็นชนชั้นกลาง หากมีความเปลี่ยนแปลงในทางสังคมหรือเศรษฐกิจ เช่น น้ำมันแพง สินค้าแพง ผู้คนจะปรับพฤติกรรมการบริโภคจับจ่ายสินค้า ทิศทางของแฟชั่นระดับกลางหรือล่างก็จะผันแปรตาม สะท้อนถึงสภาวะที่เกิดขึ้น

หลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยประกอบด้วย อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ประสบปัญหาในเรื่องข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุน ขาดการพัฒนานักออกแบบอย่างต่อเนื่อง ขาดการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต และขาดการสร้างความแตกต่าง ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง เช่น จีน อินเดีย และบางกลุ่มประเทศในอาเซียน ดังนั้นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนา SMEs ไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยยังได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลก

อุตสาหกรรมแฟชั่น

เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ประเภทสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออก แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันผู้ประกอบการต้องแบกรับกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่สูงขึ้นเนื่องจากนโยบายของรัฐที่ต้องการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคส่งผลให้ตลาดอุตสาหกรรมแฟชั่นต้องแข่งขันทางด้านราคาอย่างเข้มข้นมากขึ้น ประกอบกับการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร การผลักดันอุตสาหกรรมแฟชั่นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มองเห็นว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทยควรปรับตัวและควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์

การพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นของผู้ประกอบการไทย

โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ตอบโจทย์ผู้บริโภคในระดับสากล เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เอเชีย และในระดับโลกจากกิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรแก่ผู้ประกอบการ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสามารถพัฒนาทักษะ สร้างอาชีพด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบใหม่ๆ พร้อมนำออกสู่ตลาดรวมกว่า 65 คอลเล็กชั่นเพื่อเตรียมพร้อมปูพื้นฐานในการเป็นฐานการผลิตและศูนย์กลางการค้าอุตสาหกรรมแฟชั่นของภูมิภาค

This entry was posted in แฟชั่น and tagged , , . Bookmark the permalink.

Comments are closed.